About Me

18 สายพันธุ์ไดโนเสาร์แกร่งจากภาพยนต์ดัง Jurassic World


18 สายพันธุ์ไดโนเสาร์แกร่งจากภาพยนต์ดัง Jurassic World

สายพันธุ์ที่ 1 แองคิโลซอรัส Ankylosaurus

แองคิโลซอรัส (Ankylosaurus) มันเป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสกุล แองคิโลซอร์เลยทีเดียวครับ มันอาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียส แถบๆทวีปอเมริกาเหนือ ความยาวของเจ้า
 แองคิโลซอรัส มันมีความยาวประมาณ 6.2 เมตร หรือราวๆ (20ฟุต)
หรือเราอาจจะพบขนาดของมันอีกขนาดราวๆ 9เมตร หรือขนาด(30 ฟุต) เลยทีเดียว
ความสูงของมันจากพื้นดินถึงสะโพกประมาณ 1.7 แมตร มันมีน้ำหนักตัวถึง 6 ตันเลยทีเดียวครับ มันมีรูปร่างลำตัวที่กว้างมากๆ ขาหลังของมันจะยาวกว่าขาหน้า และมันจะมีกระดูกยื่นออกมาจากร่างกายเพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวให้มัน ซึ่งเกราะที่ดูเหมือนลูกตุ่มนี้ก็จะเป็นเกราะป้องกันอภัยอันตราจากนักล่าในยุคนั้นอย่างเจ้า ไทรันโนซอรัส ทีเร็กช์ ราชาไดโนเสาร์ของเรานั้นเองแหละครับ

แองคิโลซอรัส Ankylosaurus


สายพันธุ์ที่ 2 อะแพโทซอรัส

อะแพโทซอรัส (Apatosarus) หรือชื่อที่คุ้นเคยกันในอดีตมันมีชื่อว่า บรอนโตซอรัส (Brontosaurus) มันเป็นไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ที่สุดในยุคจูแรสซิก มันกินพืชเป็นอาหาร
และที่สำคัญนะครับเจ้าอะแพโทซอรัส มันเคยได้รับสมญาว่า เจ้ายักษ์ใหญ่ไร้พิษสง
มันอาศัยอยู่บนโลกนี้เมือราว 135 ล้านปีก่อน
อะแพโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะมียาวถึง 75 ฟุต ความสูงสูงราวๆประมาณ 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) และหางยาวมาก อะแพโทซอรัสมีน้ำหนักราว 24-35 ตัน มันถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามการไล่ล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายๆคริสศตวรรษที่ 19
และเรื่องน่ารักของมันสำหรับเจ้าอะแพโทซอรัส ชื่อของมันเมื่อแปลออกมาแล้วจะมีความหมายว่า "เจ้ากิ้งก่าปลอม" นั้งเองละครับ 55

อะแพโทซอรัส (Apatosarus)

ฟอสซิล อะแพโทซอรัส (Apatosarus)


สายพันธุ์ที่ 3 บารีโอนิกซ์

บารีโอนิกซ์ (Baryonyx) มันเป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์โหดกินเนื้ออีกสายพันธุ์หนึ่ง
เจ้าบารีโอนิกซ์นี้มันเป็นไดโนเสาร์ที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับ สไปโนซอร์ บารีโอนิกซ์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
มันมีความยาวประมาณ 10.5 เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ราวๆประมาณ 120 ล้านปีก่อน
ลักษณะเด่นของเจ้า บารีโอนิกซ์  จะมีฟันเป็นรูปกรวย มีเล็บหัวแม่มือที่ใหญ่กว่าเล็บอื่นๆ
ต่อมามีการพบเกล็ดปลาดึกดำบรรพ์ ที่กระเพาะอาหารของมัน
ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงคาดการว่า มันคงจะกินปลาเป็นอาหาร โดยใช้เล็บของมันจิกปลาขึ้นมากิน แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าบารีโอนิกซ์ มันก็กินไดโนเสาร์สายพันธุ์อื่นๆ เป็นอาหาร หรือแม้แต่กระทั่งลูกของมัน มันก็กินเป็นอาหารด้วยเช่นกัน





สายพันธุ์ที่ 4 ยูดิมอร์โฟดอน

ยูดิมอร์โฟดอน (Eudimorphodon) มันเป็นไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ชนิดหนึ่ง มันถูกค้นพบในปี 1973 ที่เมืองเบอร์กาตา ประเทศอิตาลี โครงกระดูกที่พบที่สมบูรณ์ที่สุดครั้งแรกของมัน ถูกดึงมาจากในช่วงของยุคไทรแอสสิค ทำให้ ยูดิมอร์โฟดอนกลายเป็นเทอโรซอร์ที่เก่าแก่ที่สุด . มันสามารถกางปีกได้ประมาณ 100 ซม. หรือ (3.3 ฟุต) และมันมีปลายหางกระดูกที่ยาว และปลายหางกระดูกที่ยาวนี้อาจทำให้มันใช้ประโยชน์เพื่อให้มันบินได้เร็วขึ้น
จุดเด่นของเจ้ายูดิมอร์โฟดอน คือมันเป็นไดโนเสาร์ที่สามารถบินได้และมีความไวในการบิน มันมีดวงตาขนาดยักษ์วาว คืออาวุธชั้นยอดสำหรับการล่าเหยื่อของมัน และนอกจากนี้มันยังมีฟันอันแหลมคม สำหรับใช้บดเคี้ยวเหยื่ออย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


สายพันธุ์ที่ 5 เอ็ดมอนโตซอรัส

เอ็ดมอนโตซอรัส (Edmontosaurus) เป็นพวกไดโนเสาร์ปากเป็ดชนิดหนึ่ง ฟอสซิลของมันพบในทวีปอเมริกาเหนือ อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย เมื่อประมาณ 73 ล้านปี ถึง 65 ล้านปีก่อน มันเป็นเหยื่อของนักล่าอย่างไทรันโนซอรัส  เอ็ดมอนโตซอรัส เป็นหนึ่งในพวกแฮดโดรซอร์ริเด (ไดโนเสาร์ปากเป็ด) ที่ใหญ่ที่สุด ความยาวของมันวัดได้ถึง 13 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 4.0 ตัน
เอ็ดมอนโตซอรัส อาศัยกระจายอย่างเป็นวงกว้างในแถบอเมริกาตะวันตก การกระจายตัวของซากดึกดำบรรพ์แสดงได้ว่ามันอาศัยอยู่แถบราบชายฝั่ง มันเป็นสัตว์ซึ่งกินพืชเป็นอาหารที่สามารถยืนได้ทั้ง 2 ขา และ 4 ขา และมันอยู่ร่วมกันเป็นฝูงและมีการอพยพจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อหาอาหารอีกด้วย จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์หลายตัวอย่างพบว่ามีหลักฐานการถูกโจมตีจากไทรันโนซอรัสอีกด้วยนะครับ


สายพันธุ์ที่ 6 แกลลิไมมัส

เป็นไดโนเสาร์ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายนกกระจอกเทศปัจจุบัน มันมีความยาวประมาณ 3-4 เมตร แกลลิไมมัสมันอยู่ในช่วงของยุคครีเทเชียสตอนปลายราวๆประมาณ 100-65 ล้านปีก่อน
มีการค้นพบซากฟอสซิลของแกลลิไมมัสครั้งแรก ที่ทะเลทรายโกบี ประเทศมองโกเลีย


สายพันธุ์ที่ 7 อินโดไมนัส เร็กซ์ (Indominous Rex)

DNA จากไดโนเสาร์สายพันธุ์แกร่งอย่าง กิก้าโนโตซอรัส (Giganotosaurus), รูกอปส์ (Rugops), มาจุงกาซอรัส (Majungasaurus) และคาร์โนทอรัส (Carnotaurus) ถูกหลอมรวมกลายเป็น อินโดไมนัส เร็กซ์ หรือ ไอเร็กซ์ ไดโนเสาร์พันธุกรรมที่ถูกสร้างสรรค์สำหรับสวนสนุก Jurassic World โดยทางสวนสนุก ตั้งใจสร้างไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ขึ้นมาเพื่อที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวแต่ทุกอย่างไม่เป็นไปอย่างที่คาดคิด


สายพันธุ์ที่ 8 แอโครแคนโทซอรัส

แอโครแคนโทซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ในตระกูล อัลโลซอร์ (allosauroids) มีชีวิตอยู่ระหว่าง 112-125 ล้านปีก่อน ถูกค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ ฟอสซิลของมันมันยังคงพบส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในรัฐโอคลาโฮมาและรัฐเทกซัส
แอโครแคนโทซอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่โตและแข็งแรงที่สุด มีความยาวโดยประมาณ 12 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 6.8 ตัน
แอโครแคนโทซอรัส มันถูกออกแบบมาเพื่อล่าเหยื่อ มันเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่
เช่น ทีนอนโตซอรัส หรือแม้แต่ซอโรพอดขนาดใหญ่อย่างซอโรโพไซดอน ไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ที่มีความสูง 17 มีความยาวถึง 34เมตร แอโครแคนโทซอรัส มันต่างจากไทรันโนซอรัสที่มักจะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็ก โดยมันเป็นเพียงเทอโรพอดเพียงไม่กี่ขนิดที่สามารถล่าเหยือที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ได้


สายพันธ์ที่ 9 ไมโครเซราตุส (Microceratus)

ว่ากันตามจริง ไมโครเซราตุส อาจเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในเรื่อง Jurassic World โดยร่างกายตั้งแต่หัวจรดหางมีความยาวเพียง 2.5 ฟุต และมีน้ำหนักเพียง 14 ปอนด์ อย่างไรก็ตามลักษณะเด่นของพวกมันคือจะงอยปากขนาดสั้นที่เพียงพอสำหรับการกัดกินกิ่งไม้และใบไม้เพื่อประทังชีวิต


สายพันธ์ที่ 10 โมซาซอรัส

โมซาซอรัส (Mosasaur) ความหมายชื่อคือ
"ราชากิ้งก่าแม่น้ำมิวส์"
โมซาซอรัสเป็นกลุ่มกิ้งก่าทะเลคล้ายงู พวกมันมีชีวิตอยู่ในช่วยปลายยุคครีเทเชียส เชื่อว่ามันมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มกิ้งก่าและงู และหลังจากที่มีการวิเคราะห์วิวัฒนาการของมัน โดยดูโครงสร้างขากรรไกรและกะโหลกศีรษะที่ยืดหยุ่นได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากิ้งก่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นญาติใกล้ชิดกับงู
โมซาซอรัส พวกมันเป็นญาติห่างจาก ไลโอพลัวเรอดอน แต่โมซาซอรัส มีขนาดยาวกว่ามาก
ขนาดของพวกมันมีขนาดความยาวอยู่ที่ 16.8-20 เมตรเลยทีเดียวละครับ
ถิ่นอาศัยของพวกมัน โมซาซอรัส อาศัยกระจายไปหลายส่วนของโลก เพราะในยุคนั้นที่ไหนมีระดับน้ำทะเลสูงๆพวกมันมักจะอยู่ที่นั้น
เรียกว่าน้ำทะเลไปถึงไหนเจ้าโมซาซอรัส ก็ไปถึงนั่นเลยล่ะครับ


สายพันธ์ที่ 11 แพคิเซอฟาโลซอรัส

เป็นไดโนเสาร์หัวแข็งชนิดหนึ่ง ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีหัวหนาถึง 25 เซนติเมตร ซึ่งน่าจะมีไว้ต่อสู้หรือป้องกันตัว ฟอสซิลของค้นพบที่รัฐไวโอมิง ในปี ค.ศ. 1931 พวกมันอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายราวๆ 70ล้านปีก่อน
หัวประหลาด
แพคิเซอฟาโลซอรัสพวกมันมีหัวประหลาดที่มีกระดูกส่วนหัวหนาถึง 25 เซนติเมตร หรือ 12 นิ้ว ส่วนคอต่อกับส่วนล่างของกะโหลก เมื่อพวกมันก้มหัวลงหัวคอจะตรงเป็นแนวเดียวกับกระดูกสันหลัง ซึ่งเหมาะสำหรับรับแรงกระแทก ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าน่าจะมีไว้ใช้เพื่อต่อสู้แย่งตัวเมีย หรือมีไว้ใช้เพื่อป้องกันตัวจากนักล่า


สายพันธ์ที่ 12 พาราซอโรโลฟัส

พาราซอโรโลฟัส (Parasaurolophus) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ ในยุคครีเตเชียสตอนปลายพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ เช่น ในอัลเบอร์ต้า คานาดา หรือรัฐยูทาห์ ในสหรัฐอเมริกา ลักษณะเด่นของพาราซอโรโลพัส หงอนของมันจะมีลักษณะเหมือนท่อกลวงยาว บางตัวอาจจะมีหงอนยาวถึง 1.5 เมตรเลยทีเดียวละครับ งวนของมันมีไว้ส่งเสียงหาพวก พวกมันสามารถเดินได้ทั้ง 2 เท้าและ 4 เท้า มีขนาดใหญ่โตพอสมควร เท่าที่ค้นพบไดโนเสาร์พันธุ์นี้จะมีความยาวประมาณ 10 เมตร พวกมันจะกินพืชเป็นอาหาร
ซึ่งจากภาพยนตร์ซึ่งคุณสามารถพบเห็นพวกมันได้ในสวนสนุก Jurassic World บริเวณหุบเขาแกลลิไมมัส


สายพันธ์ที่ 13 เทอราโนดอน

เทอราโนดอน จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานบินได้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน Jurassic World อันมีที่มาจากความกว้างระหว่างปีกทั้งสองข้าง 20 ฟุต และน้ำหนักตัวอีก 70 ปอนด์ อย่างไรก็ตาม เทอราโนดอน ถูกจัดอยู่ในหมวดไดโนเสาร์กินพืชและมีอารมณ์เกรี้ยวกราดอย่าบอกใคร


สายพันธ์ที่ 14 สเตโกซอรัส

สเตโกซอรัส หรือฉายยานามว่าเจ้า (กิ้งก่ามีหลังคา) เป็นไดโนเสาร์กินพืช พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินพืช ที่มีเกราะป้องกันตัวจำพวกแรกๆ
ลักษณะโดดเด่น มีขาหน้าสั้น และปากเล็ก มีแผ่นเกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหาง
แผ่นเกล็ดนี้มีไว้ขู่ศัตรู นอกจากนี้มันยังมีหนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งเอาไว้ต่อสู้เพื่อป้องกันตัวจากไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคนั้นละครับ
เจ้าสเตโกซอรัส
รูปร่างของมันถึงแม้จะดูน่ากลัวแต่คุณผู้ชมครับ สมองของมันเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียวและหนักไม่ถึง 70 กรัม ลำตัวยาว 9 เมตรหนัก 2-3 ตันพวกมันอาศัยอยู่ยุคจูแรสซิกเมื่อราวๆ 170 ล้านปีก่อนครับ


สายพันธ์ที่ 15 ซูโคไมมัส

ซูโคไมมัส เป็นไดโนเสาร์ที่อยู่ในสกุล สไปโนซอร์ ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกา ประเทศอียิปต์ มีปากที่มีความยาวและแคบเป็นจะงอย ฟันของมันคมมาก พวกมันออกหาอาหารบริเวณริมแม่น้ำ อาหารหลักของมันคือปลา และสัตว์น้ำในยุคดึกดำบรรณ์
ซูโคไมมัส มีความยาว 11 เมตร หนักประมาณ 2.9-4.8 ตัน อาศัยอยู่ในยุคครีเทเซียสตอนต้นเมื่อประมาณ 112 ล้านปีก่อน
มันมีศัตรูขู้แข่งตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกันอย่าง จระเข้ยักษ์ ซาร์โค-ซูซุส ที่อาศัยอยู่ริมน้ำและจะคอยดักซุ่มโจมตีเหยื่ออยู่ในน้ำ
ซูโคไมมัส มีญาติไกล้ชิดอย่าง สไปโนซอรัส


สายพันธ์ที่  16 ไทรเซราทอปส์

ไทรเซราทอปส์ (triceratops)
เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68 ล้านปีก่อน มันเป็น 1 ในไดโนเสาร์ชนิดสุดท้าย ไทรเซอราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว 6-8 ตันและมีความยาว 6-10เมตรโดยทั่วไปแล้วไทรเซอราทอปส์จะกินพืชเนื้อหยาบเป็นอาหาร มันมีจะงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตรลิท
ไทรเซอราทอปส์ มีวิถีชีวิตคล้ายแรดพวกมันอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็มอาหาร
เมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส ทีเร็กซ์ พวกมันจะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า6ตัน
ไทรเซอราทอปส์มีเขา 3 เขาอยู่บนหัว เขาแรกยาว20เซนติเมตรอยู่เหนือจมูก ส่วน2เขาหลังอยู่ที่ตายาวราว1เมตรแทงเพียงครั้งเดียวอาจถึงตาย บางตัวเขาอาจยาวกว่า2เมตร



สายพันธ์ที่ 17 เวโลซีแรปเตอร์

เวโลซีแรปเตอร์ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ฉลาดและว่องไว
พวกมันมีการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเหมือนหมาป่า
อาวุธของพวกมันคือเล็บเท้าอันแหลมคมที่เหมือนใบมีดที่พับเก็บได้และฟันที่คมกริบ พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกช่วงประมาณ 70 ล้านปีก่อนในยุคครีเทเชียสตอนปลาย มีหลักฐานพบเป็นฟอสซิลในบริเวณเอเชียกลาง
เวโลซีแรปเตอร์พวกมันมีไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับพวกมัน คือยูทาห์แรปเตอร์,
ไดโนนีคัส และโดรมีโอซอรัส

สายพันธ์สุดท้าย สายพันธ์ที่ 18 จะเป็นใครไปไม่ได้ก็คือเจ้าราชาไดโนเสาร์ ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ หรือ ทีเร็กซ์ ของเรานี้เลยครับ

สายพันธ์ที่ 18 ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ หรือ ทีเร็กซ์

ไทแรนโนซอรัส เรกซ์เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ เดินสองขา มีกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ มีขาหลังที่ใหญ่และทรงพลัง ไทแรนโนซอรัส เรกซ์  มีความยาว 12.3 ม. สูงจากพื้นถึงสะโพก 4 ม.มีน้ำหนักประมาณ 7.2 ตัน แต่ในปัจจุบันมีการประมาณกันว่าน้ำหนักของมันอยู่ในช่วง 9 ถึง 12 ตัน เมื่อโตเต็มที่พวกมันจะมีความเร็วที่ 30กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ตอนเป็นวัยรุ่น ทีเร็กซ์จะวิ่งเร็วถึง 40-50กิโลเมตร/ชั่วโมง
จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการล่าเหยื่อเป็นฝูงทั้งครอบครัว
และที่สำคัญนะครับเจ้าราชาไดโนเสาร์ทีเร็กซ์เนี่ยมันมีความฉลาดอย่างมากโดย
สมองของ ทีเรกซ์นั้นมีควาวยาวมากกว่า ไม้บรรทัด และใหญ่ที่สุดในหมู่นักล่าขนาดใหญ่ทั้งหมด จึงทำให้ ทีเร็กซ์เป็นนักล่าขนาดใหญ่ที่ฉลาดที่สุด นี้แหละครับสมแล้วกับมันได้เป็นราชาไดโนเสาร์แห่งนักล่าตลอดกาล

    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Copyright © 2013. The Top Story - All Rights Reserved
Template Created by ThemeXpose | Published By Gooyaabi Templates